สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
Population and Community Development Association (PDA)
องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 เพื่อดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตชนบทและเขตเมือง ดำเนินงานโครงการต่างๆ มามากกว่า 300 โครงการอย่างต่อเนื่อง
ร่วมบริจาควันนี้เพื่อช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาส
คุณสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างโอกาสให้แก่ ผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทย ด้วยการบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนคุณสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างโอกาสให้แก่ ผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทย ด้วยการบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
เงินบริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้


สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
การดำเนินโครงการ ในรอบ 47 ปี
กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติ
Sustainable Development Goals : SDGs
โครงการและกิจกรรม

- โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนชนบท ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล
- โครงการบาดาลลอยฟ้า/ธนาคารผัก
- โครงการประปาเพื่อการเกษตร
- โครงการสร้างถังน้ำฝน/โอ่ง (ระดับครัวเรือน)
- โครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบน้ำเพื่อผลิตผักปลอดสารพิษ สูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์
- โครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน (สอช.)
- โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนบริเวณพื้นที่ตามแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จังหวัดกาญจนบุรี
- โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
- โครงการธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (BSE)
5 ด้าน การดำเนินงานของ
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
1. ทำให้ เกิดน้อยลง
ดำเนินงานด้านการวางแผนครอบครัวที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community-Based
Distribution System-CBD) โดยการอบรมและจัดตั้งอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชน
(อส.วคช.)ในหมู่บ้านกว่า 12,000 แห่ง
2. ทำให้ ตายน้อยลง
จัดทำโครงการด้านสาธารณสุข เพื่อให้ความรู้ด้านดูแลสุขภาพอนามัย
การรณรงค์ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์
ด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆในวงกว้างทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์
3. ทำให้ จนน้อยลง
ดำเนินโครงการร่วมพัฒนาหมู่บ้าน (Village Development Partnership-VDP)
เพื่อขจัดความยากจนร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน
ที่เน้นการพัฒนาและส่งเสริมให้ชาวบ้านมีทักษะในการประกอบอาชีพ
จัดตั้งธนาคารพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นแหล่งทุนของชุมชนที่ชาวบ้านร่วมการบริหารจัดการแทนการกู้เงิน
นอกระบบ
4. ทำให้ โง่น้อยลง
พัฒนาด้านการศึกษา เริ่มจากการให้ทุนการศึกษา
สร้างระบบการศึกษาที่เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ด้อยโอกาสในชนบท
ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับทุกคนในชุมชนและมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ชนบท
5. ทำให้ งกน้อยลง
สร้างคนให้มีจิตสาธารณะ รู้จักแบ่งปัน
ช่วยเหลือและร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมโดยเริ่มจากชุมชนของตนเอง
มีการดำเนินการทั้งในส่วนของเด็กนักเรียนในโรงเรียนและในส่วนของชาวบ้านทั่วไปผ่านการจัดกิจกร
รมต่างๆ

STEM
Education Camp
ค่าย วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม พลังงานและนวัตกรรม
จากประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ถูกนำมาถ่ายทอดในรูปแบบของการอบรม ค่ายStem สัมมนาการจัดค่ายและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้แก่สถาบันการศึกษา องค์กรและผู้สนใจทั่วไป ค่ายวิทยาศาสตร์
ซึ่งบริหารจัดการหลักสูตรโดย ดร. ทักษิณ อาชวาคม ที่ปรึกษาโครงการ (ผู้อำนวยการสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ปี พ.ศ. 2545-2559)

ศูนย์ฝึกอบรมจักราช
ศูนย์ฝึกอบรม ดูงาน นวัตกรรมด้านพลังงาน การเกษตรแนวใหม่
ค่ายกิจกรรมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานจักราช(ศูนย์มีชัย)
อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
ศูนย์ฝึกอบรม ดูงาน เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านพลังงาน การเกษตรแนวใหม่และสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านและชุมชน
รวมทั้งการจัดกิจกรรมในรูปแบบของ ค่ายกิจกรรม ให้แก่ชุมชนและผู้ที่สนใจ ได้เข้ามาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
รางวัลที่ได้รับ

Equator Prize จากสำนักงานโครงการพัฒนาสหประชาชาติ
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 โดยนายมีชัย วีระไวทยะ เพื่อดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ได้รับรางวัลสำคัญๆ หลายรางวัล เช่น รางวัลโครงการสิ่งแวดล้อมดีเด่น ปี 2545 จาก UNEP สำหรับโครงการพัฒนาหมู่บ้านซับใต้ซึ่งเป็น 1 ใน27 โครงการทั่วโลก และที่สำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 สมาคมฯ ได้รับการยกย่องจาก The Global Journal เป็น 1 ใน 100 องค์กรสาธารณประโยชน์ดีเด่น The Best NGOs ลำดับที่ 39 ของโลก