สรุปผลงานโครงการ

โครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม

โครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม รางวัลมีชัย วีระไวทยะ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สาขาการพัฒนาสังคมชนบท เกิดขึ้นจากโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคมเป็นหนึ่งใน 6 รางวัล ซึ่งมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ริเริ่มเพื่อยกย่องเชิดชูให้เกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรที่ทำคุณประโยชน์แก่ประชาชน ชุมชนและสังคมตั้งแต่ปี 2550 โดยกำหนดให้รางวัลปีละ 1 ล้านบาท อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี นอกจากการให้รางวัล มีชัย วีระไวทยะฯ แล้ว มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังให้การสนับสนุนสมาคมฯ เพื่อคัดเลือกบุคคล หรือองค์กรที่ทำความดีเพื่อสังคมในสาขาเดียวกันทุกปี เพื่อรับรางวัลปีละ 1 ล้านบาท เป็นระยะเวลา...

Continue reading

การพัฒนาและการส่งเสริมการศึกษา

การพัฒนาและการส่งเสริมการศึกษา ในระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2534 มีการขยายตัวการของอุตสาหกรรมก่อสร้างเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากขึ้น ส่งผลต่อการอพยพเข้ามาหางานทำของประชาชนจากภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เดินทางมาขายแรงงาน เป็นกรรมกรก่อสร้างจำนวนมาก สมาคมฯ ได้เห็นปัญาที่ครอบครัวของแรงงานเหล่านั้นได้อพยพ ตามหัวหน้าของครอบครัวมา จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกคนงานก่อสร้าง” โดยจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงและให้การศึกษา แก่ลูกคนงานก่อสร้าง ซึ่งเป็น”ศูนย์สาธิตต้นแบบ“โดยการสนับสนุนของมูลนิธิฟอร์ดและใช้ชื่อว่า “ศูนย์พัฒนาเด็กมีชัย” ซึ่งมีทั้งสิ้น 11 แห่ง กระจายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีลูกคนงานก่อสร้างอายุ 3-5 ปี มากกว่า 2,000 คน...

Continue reading

การศึกษาวิจัยและประเมินผล

การศึกษาวิจัยและประเมินผล ในทุกโครงการที่สมาคมฯ ดำเนินงาน มีระบบติดตามและประเมินผลการทำงานอย่างเป็นระยะๆ นับตั้งแต่ ระยะก่อนเริ่มโครงการ ที่ต้องมีการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ระยะดำเนินการ ทีมีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ มากน้อยเพียงใด ระยะสิ้นสุดโครงการ ที่จะต้องเปรียบเทียบผลของการดำเนินงานว่า ถึงเป้าหมายครบตามที่วางไว้หรือไม่ โดยมีตัวชี้วัดที่ได้ถูกกำหนดจากผู้ปฏิบัติงาน (เจ้าหน้าที่ผู้ทำงาน)  จากกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์ (ประชาชนในพื้นที่) และจากเจ้าหน้าที่วิจัย (ผู้ประเมิน) เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบของการติดตามและประเมินผล ให้สอดคล้องตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น ซึ่งหัวใจหลักของการติดตามและประมินผลของสมาคมฯ คือ  เป็นระบบที่มีการกำหนดตัวชี้วัดหลักๆ ที่จำเป็นและวัดได้ กำหนดการเก็บข้อมูลหรือกรอกข้อมูลอย่างง่ายๆ สะดวกกับผู้กรอกและผู้เก็บข้อมูล เอกสารที่ไม่ซับซ้อน ความถี่ในการเก็บข้อมูล และลักษณะการเก็บข้อมูลเหมาะสม กับกิจกรรมที่ดำเนินการ ที่สำคัญ คือ...

Continue reading

การสร้างจิตสาธารณะ

การสร้างจิตสาธารณะ ห้องสมุดของเล่นประจำหมู่บ้าน ห้องสมุดของเล่นประจำหมู่บ้านเป็นจุดเริ่มต้นของ “การสร้างจิตสาธารณะ” ของเด็กและเยาวชน ส่งเสริมการเป็นผู้นำการช่วยเหลือสังคม และรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจะส่งเสริมให้พ่อแม่แนะนำและสอนให้เด็กสนใจที่จะบริจาคของเล่นบางส่วนให้แก่เด็กในชนบท หลังจากพ่อแม่ช่วยสอนให้ลูกหลานสนใจที่จะบริจาคของเล่นแล้วสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (Population & Community Development Association : PDA) จะนำของเล่นไปส่งที่หมู่บ้านในชนบทโดยให้เด็กในหมู่บ้านอายุตั้งแต่ 8 ปี ถึง 14 ปี เป็นผู้บริหารจัดการดูแลห้องสมุดของเล่นประจำหมู่บ้านของตนเด็กในหมู่บ้านที่สนใจจะขอยืมของเล่น จะต้องตอบแทนด้วยการทำงานสาธารณประโยชน์ เช่น เพาะกล้าไม้ ปลูกต้นไม้ หรือ เก็บขยะ เช่น พลาสติก กระดาษ...

Continue reading

โครงการร่วมพัฒนาหมู่บ้าน

โครงการร่วมพัฒนาหมู่บ้าน Village Development Partnership โครงการร่วมพัฒนาหมู่บ้าน หรือ Village Development Partnership (VDP) เป็นโครงการพัฒนาแบบองค์รวมในระดับหมู่บ้านเพื่อขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ไม่ใช่การแก้ที่ปลายเหตุด้วยวิธีการช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์ที่ไม่ได้ผล สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนเชื่อว่า สิ่งที่จะสามารถขจัดความยากจนได้ คือ การเปลี่ยนจากความช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์ไปสู่การส่งเสริมให้ชาวบ้านมีทักษะในการทำธุรกิจ มีแหล่งเงินทุน โดยใช้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน การระดมความคิดและจัดทำแผนโครงการโดยใช้เทคนิคบันไดคุณภาพชีวิต (Bamboo Ladder) และการทำ Community Need Assessment – CNA การดำเนินโครงการไปจนถึงการติดตามและประเมินผล หลักการของโครงการที่สำคัญ ได้แก่...

Continue reading

การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท

การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท โครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท (สอช.) มีแนวคิดที่ต้องการให้ภาคธุรกิจได้มีส่วนช่วยเหลือสังคมโดยเฉพาะสังคมชนบท ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2533 ด้วยการชักชวนให้หน่วยงานภาคธุรกิจอุตสาหกรรมได้ร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนมีส่วนร่วม ในการพัฒนาสังคมและประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากประชาชนในชนบทจะได้รับประโยชน์แล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทอีกด้วย จากการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ได้เกิดรูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบทอย่างเป็นรูปธรรมขึ้น จนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ และบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 การดำเนินงานโครงการฯ จะเป็นในลักษณะของความร่วมมือ3 ประสาน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และชาวบ้านในท้องถิ่น รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชน (์NGO) โดยทำการชักชวนหน่วยงานภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมด้านการผลิตที่สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชุมชนได้ มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า...

Continue reading

การส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

การส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Konrad Adenauer Foundation) เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้การสนับสนุนโครงการฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึงปัจจุบัน ระยะแรก โครงการเน้นจัดการฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ในด้านการเกษตรและการจัดการฟาร์ม การสร้างผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดย่อมให้มีความรู้ในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพสตรีในด้านธุรกิจและสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน โครงการได้มุ่งส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เริ่มจากโครงการนำร่องด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย เพื่อหารูปแบบผสมผสานความคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนด้วยการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมรายได้ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมชุมชน “ส่งเสริมประชาธิปไตยในรูปแบบการพึ่งพาตนเอง” และการต่อยอดการพัฒนาธุรกิจชุมชน ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม ให้มีมาตรฐานเป็นเครือข่ายในการพัฒนาธุรกิจต่อไปนอกจากนี้ยังมุ่งส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพสตรีและเยาวชนในหมู่บ้านให้มีบทบาทหน้าที่และมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง ได้มีการจัดตั้ง “องค์การ บริหารหมู่บ้านเยาวชน” (อบต.เยาวชน) ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2541...

Continue reading

การฝึกอบรมนานาชาติ

การฝึกอบรมนานาชาติ The Asian Center for Population and Community Development – ACPD ศูนย์พัฒนาประชากรและชุมชนแห่งเอเซีย หรือ The Asian Center for Population and Community Development (ACPD) ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2521 เพื่อเป็นศูนย์จัดการอบรมแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้ความรู้เผยแพร่ประสบการณ์และความสำเร็จของสมาคมฯ ในด้านต่างๆ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณเริ่มต้น Pathffiinder Fund, Japanese...

Continue reading

การพัฒนาคุณภาพชีวิต

การพัฒนาคุณภาพชีวิต การดำเนินงานของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ในลำดับต่อมามิได้เป็นเพียงโครงการเดี่ยวเหมือนเมื่อในอดีต หากแต่มีการบูรณาการทุกมิติของชุมชนเข้าด้วยกัน ที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต” โดยรวมมิติของสุขภาพอนามัย ด้านเศรษฐกิจการสร้างรายได้ลดรายจ่าย ด้านการจัดหาทรัพยากรน้ำบริโภค อุปโภค ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการกลุ่มและองค์กร บทบาทชายหญิงความเท่าเทียม ฯลฯ เข้าไว้ด้วยกันซึ่งเป็น “การบูรณารงานพัฒนาแบบองค์รวม” (Holistic) ที่มีเป้าหมายหลัก คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามความต้องการของชุมชนเป็นหลัก โดยก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ หรือกิจกรรมต่างๆสมาคมฯ โดยฝ่ายวิจัยและสารสนเทศ จะดำเนินการสำรวจ ศึกษาและจัดทำแผน ร่วมกันกับชุมชนอย่างมีส่วนร่วม หลังจากนั้นจึงได้นำมาออกแบบกิจกรรมตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งเป็น “กระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างแท้จริง” ร่วมคิด…ร่วมวางแผน…ร่วมปฏิบัติ…ร่วมประเมิน การพัฒนาคุณภาพชีวิต โครงการ โรงไฟฟ้าราชบุรีพัฒนา จังหวัดราชบุรี บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง...

Continue reading

การบรรเทาสาธารณภัยชุมชน

การบรรเทาสาธารณภัยชุมชน ในช่วงปี พ.ศ. 2523-2533 สมาคมฯ ได้มีส่วนร่วมในการช่วยบรรเทาทุกข์แก่ผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งลี้ภัยสงครามและความวุ่นวายในประเทศของตนมาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามชายแดนไทย ซึ่งค่ายผู้ลี้ภัยตามชายแดนไทยเหล่านี้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบร่วมกันของรัฐบาลไทยและ United Nation High Commissioner for the Refugee–UNHCR ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว สมาคมได้ตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจขึ้นมามีชื่อว่า สำนักงานบริการสาธารณภัยชุมชน (Community-Based Emergency Relief Service-CBERS) เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำและบริการด้านการวางแผนครอบครัวแก่ผู้ลี้ภัยจำนวน 109,228 ราย เช่น การให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิด...

Continue reading