สรุปผลงานโครงการ

การศึกษาวิจัยและประเมินผล

การศึกษาวิจัยและประเมินผล

ในทุกโครงการที่สมาคมฯ ดำเนินงาน มีระบบติดตามและประเมินผลการทำงานอย่างเป็นระยะๆ นับตั้งแต่

  1. ระยะก่อนเริ่มโครงการ ที่ต้องมีการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน
  2. ระยะดำเนินการ ทีมีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ มากน้อยเพียงใด
  3. ระยะสิ้นสุดโครงการ ที่จะต้องเปรียบเทียบผลของการดำเนินงานว่า ถึงเป้าหมายครบตามที่วางไว้หรือไม่

โดยมีตัวชี้วัดที่ได้ถูกกำหนดจากผู้ปฏิบัติงาน (เจ้าหน้าที่ผู้ทำงาน)  จากกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์ (ประชาชนในพื้นที่) และจากเจ้าหน้าที่วิจัย (ผู้ประเมิน) เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบของการติดตามและประเมินผล ให้สอดคล้องตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น ซึ่งหัวใจหลักของการติดตามและประมินผลของสมาคมฯ คือ

 เป็นระบบที่มีการกำหนดตัวชี้วัดหลักๆ ที่จำเป็นและวัดได้ กำหนดการเก็บข้อมูลหรือกรอกข้อมูลอย่างง่ายๆ สะดวกกับผู้กรอกและผู้เก็บข้อมูล เอกสารที่ไม่ซับซ้อน ความถี่ในการเก็บข้อมูล และลักษณะการเก็บข้อมูลเหมาะสม กับกิจกรรมที่ดำเนินการ ที่สำคัญ คือ สามารถนำตัวชี้วัดเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้าปัญหาอุปสรรคของโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างเช่น

ระบบการติดตามผลโครงการวางแผนครอบครัวชุมชน ที่ต้องจัดทำฐานข้อมูลเป็นระดับหมู่บ้าน (Community-Based Distribution: CBD) ที่มีความชัดเจนครอบคลุมทั้งระดับผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และบริการที่ไปส่งเสริม ทำให้มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่เข้ามาศึกษาดูงานจากสมาคมฯ เพื่อนำไปพัฒนาหรือประยุกต์ใช้กับงานในหน่วยงานของตน

การติดตามผล เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ อาจกล่าวได้ว่าทุกโครงการหรือกิจกรรมที่สมาคมฯ ดำเนินการมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

การประเมินผลโครงการ เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่สมาคมฯ ต้องดำเนินการ เนื่องจากโครงการที่ดำเนินการส่งเสริมส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีระยะเวลาในการดำเนินงาน มีตั้งแต่ ระยะสั้น 1 ปี ไปจนถึง 10 ปีขึ้นไป ดังนั้นมีจำเป็นอย่างยิ่งที่สมาคมฯ จะต้องทำการสำรวจเก็บข้อมูลพื้นฐานก่อน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาติดตามผลระหว่างที่ดำเนินโครงการ จนกระทั่งจบโครงการ ที่ต้องมีการประเมินผล เพื่อวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานที่ผ่านมา  โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย เทคนิคการเก็บข้อมูล และตัวชี้วัดที่สอดคล้องเหมาะสมกับโครงการนั้นๆ

ประโยชน์ของการติดตามและประเมินผลอีกประการ คือ เป็นการรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ให้ผู้สนับสนุนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับทราบ   “การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างประเทศ จะมีการติดตามนิเทศงานโดยผู้แทนของหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ” และในกรณีที่มีการขยายเวลาดำเนินโครงการก็จะมีการจัดส่งคณะประเมินผลมาประเมินโครงการ เพื่อพิจารณาอนุมัติการดำเนินการต่อไป

ในระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2552 นอกจากการดำเนินการติดตามประเมินผลกับโครงการสมาคมฯ ที่ดำเนินการแล้ว สมาคมฯ โดยฝ่ายวิจัยและสารสนเทศ ได้รับ
ดำเนินการศึกษาวิจัยให้หน่วยงานองค์กรภายนอกด้วย โดยถือเป็นโอกาสในการพัฒนาประสบการณ์ และศักยภาพของเจ้าหน้าที่ เป็นการสร้างเครือข่ายและหารายได้มาสนับสนุนงานพัฒนาชนบท